ท่าออกกำลังกายหลังศัลยกรรมหน้าอกง่ายๆ

ออกกำลังกายง่ายๆหลังศัลยกรรม

สาว ๆ ที่ไปทำศัลยกรรมหน้าอกอาจจะสงสัยว่า เสริมหน้าอกมาแล้วสามารถออกกำลังกายได้ไหม แล้วตอนไหนถึงออกกำลังกาย มีท่าไหนบ้างที่สามารถออกกำลังกายหลังศัลยกรรมหน้าอก วันนี้ icheer มาไขข้อสงสัยให้สาวที่ต้องการออกกำลังกายหลังจากศัลยกรรมหน้าอกมาฝากค่ะ

หลังศัลยกรรมหน้าอกออกกำลังกายได้ตอนไหน

หลังศัลยกรรมหน้าอกออกกำลังกายได้ตอนไหน

หลังจากที่ทำการผ่าตัดได้ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ช่วงนี้หน้าอกจะเริ่มเข้าที่มากขึ้น เยื่อบุผิวจะเริ่มสร้างตัวทำให้วัสดุและกล้ามเนื้อเริ่มประสานตัวกันเป็นเนื้อเดียว ทำให้สามารถที่จะออกกำลังกายอย่างเบาๆ เช่น วิ่งบนลู่ ปั่นจักรยาน เป็นต้น

หลังผ่าตัด 1 เดือน สามารถที่จะออกกำลังกายได้ควรเริ่มจากเบาไปก่อนไม่หักโหม เช่น โยคะ หรือออกกำลังกายตามที่เคยออกปกติ โดยช่วงแรกไม่ควรหักโหมมากเน้นให้ร่างกายยืดหยุ่น ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักในช่วงแรกๆ

ท่าออกกำลังกายหลังศัลยกรรมหน้าอก

เดินเร็ว

1.เดินเร็ว

การเดินเร็วนอกจากจะทำให้หัวใจได้ออกกำลังไปด้วยแล้ว ยังจะช่วยให้การหมุนเวียนของโลหิตดีขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดทำหน้าอก และเมื่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อบริเวณที่ผ่าตัดเสริมหน้าอกได้รับออกซิเจนจากการไหลเวียนของโลหิตเพียงพอ ก็จะช่วยทำให้การสมานของแผลเป็นนั้นเร็วขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

4 วิธีเดิน เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ

1.เดินด้วยส้นเท้า
ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหน้าแข้งและช่วยยืดเส้นเอ็นหลังเข่า
วิธีเดิน: ยืนตัวตรง กระดกปลายเท้าขึ้นไม่ให้โดนพื้น ใช้ส้นเท้าเดินช้าๆ ประมาณ 50-100 ก้าว

2. เดินด้วยปลายเท้า
ช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น ระบบหมุนเวียนเลือดทํางานดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหาร
วิธีเดิน: ยืนตัวตรง เขย่งส้นเท้าขึ้น แล้วใช้ปลายเท้าเดินช้าๆ ประมาณ 70-120 ก้าว หากรู้สึกเกร็งหรือเจ็บให้หยุดพักและนวดเท้า 3–5 นาที

3. เดินไขว้เท้าไปมา
ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้สะโพก ลดไขมันสะสมบริเวณเอวและต้นขา
วิธีเดิน: ยืนตัวตรง เดินโดยให้เท้าข้างหนึ่งไขว้เหนือเท้าอีกข้างหนึ่งสลับไปมา ประมาณ 150–200 ก้าว

4. เดินถอยหลัง
ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และเส้นเลือดฝอย ทําให้สมองแจ่มใสและการทรงตัวดีขึ้น
วิธีเดิน : ยืนตัวตรง ก้าวเท้าไปด้านหลังโดยใช้ปลายเท้าแตะพื้นก่อน แล้วค่อยวางเท้าโดยถ่ายน้ำาหนักไปที่กลางเท้าและส้นเท้า (ห้ามเดินโดยใช้ฝ่าเท้าประทับพื้นเฉยๆ) ประมาณ 70-120 ก้าว

ปั่นจักยาน

2.ปั่นจักรยาน

การปั่นจักรยานบนเครื่องปั่นจักรยานแบบมีพนักพิงนั้นเป็นการออกกำลังกายที่ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะนอกจากจะได้บริหารขาหลังจากที่เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มในช่วงแรกของการผ่าตัดทำนมแล้ว การออกกำลังบริเวณขายังไม่ส่งผลกระทบต่อแผลที่จะทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมากนักอีกด้วย ดังนั้นการปั่นจักรยานก็เป็นทางเลือกในการออกกำลังที่น่าสนใจไม่น้อย

3.ยกเวท

ยกเวทในที่นี้คือการยกเวทน้ำหนักเบาที่จะไม่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนถึงแผลผ่าตัด เพราะการออกกำลังด้วยการยกเวทแบบยกขึ้นยกลง หรือถ้าใครไม่มีเวทอาจจะใช้ขวดน้ำที่ใส่น้ำจนเต็มไซส์ปกติมาใช้แทนเวทก็ได้ เพราะได้ผลลัพธ์การออกกำลังที่ดีเช่นเดียวกัน

เป็นยังไงกันบ้างค่ะ ท่าออกกำลังกายไม่ยากอย่างที่คิด ทั้งนี้ควรจะใส่สปอร์ตบราไว้ก่อนให้ขนาดพอดีกับเต้านม  เพราะในช่วงเวลาที่เรากำลังทำกิจกรรมต่างๆ นั้นบริเวณหน้าอกของเราอาจเกิดการดึงผิวหนังลงตามแรงโน้มถ่วงทำให้หน้าอกของสาวๆ มีโอกาสคล้อยได้ และหากใครกำลังคิดว่าจะไปเสริมหน้าอกราคาเป็นมิตร หรือยังเลือกอยู่เสริมหน้าอกที่ไหนดี ก็อย่าลืมว่าการเลือกสถานที่ให้บริการที่เชื่อถือได้

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaihealth.or.th/ , STMstyle

ใส่ความเห็น